แพทย์จุฬาฯ วิจัยสำเร็จ! โมเลกุลมณีแดง ย้อนวัย ต้านเซลล์ชรา

ยาอายุวัฒนะหรือยาชะลอความแก่เป็นยอดปรารถนาของมนุษย์มายาวนาน ตำนานในหลายวัฒนธรรมต่างบอกเล่าเรื่องราวที่สะท้อนความพยายามของมนุษย์ในการที่จะอยู่ยงคงกระพัน แบบ “สาวหรือหนุ่มสองพันปี” ทั้งอายุยืนและอ่อนวัยอยู่เสมอ

ในวันนี้ ตำนานเหล่านั้นดูจะใกล้ความเป็นจริงขึ้นมาทุกที ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “โมเลกุลมณีแดง” หรือ REDGEMsอันย่อมาจาก REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules ซึ่ง ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิวัฒน์ มุทิรางกูร หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค้นพบจากผลงานการวิจัยวิทยาศาสตร์พันธุกรรมในโครงการ “การพัฒนานวัตกรรมใหม่ในทางการแพทย์ที่มีมูลค่าและคุณค่าสูง : ฟื้นฟูภาพดีเอ็นเอโดยโมเลกุลที่ทำให้จีโนมเสถียร และการตรวจกรองมะเร็งจากโปรตีนหรืออาร์เอ็นเอในเม็ดเลือดขาว” และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง13

โมเลกุลมณีแดงมีคุณสมบัติในการย้อนวัยที่ดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญที่จะใช้แก้ปัญหาสุขภาพในสังคมสูงวัยได้และมีศักยภาพในการเพิ่มรายได้ให้ประเทศไทยด้วย” ศ.นพ.อภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอณูพันธุศาสตร์และสภาวะเหนือพันธุกรรม กล่าว

โมเลกุลมณีแดงย้อนวัย และ DNA แก่ชรา

การค้นพบ “Replication independent endogenous DNA double strand breaks 1” ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อต่อดีเอ็นเอ (DNA gap) ที่มีปริมาณน้อยในเซลล์ชรา เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ไขความรู้สู่การต้านวัยชรา

“ในดีเอ็นเอจะมีรอยแยก (Youth DNA Gap) อยู่บริเวณที่มีดีเอ็นเอแมดทิเลชัน (DNA methylation) อันเป็นที่มาของโมเลกุลมณีแดง ซึ่งมีบทบาทในการช่วยปกป้องดีเอ็นเอและป้องกันความแก่ชราในยีนส์” ศ.นพ.อภิวัฒน์ อธิบาย

“เมื่อมนุษย์อายุมากขึ้น รอยแยกดีเอ็นเอจะลดลง ทำให้เกิดแรงตึงทั่วสายของดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอไม่สามารถหมุนตัวได้อย่างปกติและถูกทำลายได้ง่าย เราจึงพบรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์ที่แก่ชราแล้วเยอะขึ้น ซึ่งรอยโรคดีเอ็นเอนี้จะส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวตามปกติ และเข้าสู่ความแก่ชรา รวมถึงอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์และมะเร็งได้” 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.chula.ac.th/highlight/56892/